วันพุธ, 12 กุมภาพันธ์ 2568

สุดเจ๋ง นศ. “พัฒนาชุมชน” มรภ.สงขลา แทคทีมกวาด 14 รางวัล ครองอันดับ 1 กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ เวทีประชุมวิชาการ “CSD สัมพันธ์” ครั้งที่ 23

มรภ.สงขลา สุดปลื้ม นักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์ฯ กวาด 14 รางวัลจากเวทีประชุมวิชาการเครือข่ายพัฒนาชุมชน สังคม และท้องถิ่นระดับชาติ “CSD สัมพันธ์” ครั้งที่ 23 สร้างผลงานเป็นอันดับ 2 จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด และครองอันดับ 1 ในมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เข้าร่วมประชุม

เมื่อวันที่ 31 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2568 นักศึกษาและคณาจารย์ที่ปรึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เข้าร่วมการประชุมวิชาการเครือข่ายพัฒนาชุมชน สังคม และท้องถิ่นระดับชาติ (CSD สัมพันธ์) ครั้งที่ 23 เครือข่ายการทำงานพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผลปรากฏว่าสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มรภ.สงขลา สามารถคว้ารางวัลจากการประกวดแข่งขันทางวิชาการ รวม 14 รางวัล สร้างผลงานรวมเป็นอันดับ 2 จาก 30 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมสัมมนา และเป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ติดต่อกัน 2 ปีซ้อน (ปี 2566, 2567) ที่เข้าร่วมในเวทีดังกล่าว

สำหรับรางวัลต่าง ๆ ที่ได้รับมีดังนี้ ประเภทการนำเสนอบทความวิจัย/วิชาการ ประเภท โปสเตอร์ 10 รางวัล รางวัลบทความวิจัย/วิชาการ ระดับดีเด่น 1 รางวัล จากผลงาน เรื่อง : การพัฒนาผลิตภัณฑ์เต้าหู้ไข่ขาวจากไข่ขาวที่เหลือจากการทำไข่ครอบ กลุ่มแม่บ้าน หมู่ที่ 10 บ้านด่านกลาง ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย นายคณิศร ขวัญศรีสุทธิ์ , นางสาวอัมพร ฉัตรจินดา , นางสาวทักษอร บัวศรี , นางสาวพิชชาพร วงศ์ชู , นางสาวศุทธินี เพชรสังฆาต และ นายภานุพงศ์ ทองศรี โดยมี อ.ดร.ธวัชชัย ศรีพรงาม และ อ.ดร.ศิโรนี โต๊ะสัน เป็นที่ปรึกษา

รางวัลบทความวิจัย/วิชาการ ระดับดีมาก จำนวน 2 รางวัล จากผลงาน เรื่อง : การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกเห็ดเจสู่มาตราฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านชุมพอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย นางสาวธรีรัตน์ แก้วเขียวสนิท , นางสาวพฤจิกา เบ้งฮ้อ , นางสาวอริศรา ปลอดกระโทก , นางสาวณัฐนันท์ ทัดเทียม , นางสาวพิมพ์ลภัส อ่อนสี และนางสาววิภาวดีศรีสุขใส โดยมี อ.ดร.เกรียงศักดิ์ รัฐกุล และ อ.สุปราณี ชอบแต่ง เป็นที่ปรึกษา และ ผลงานเรื่อง : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไวน์ จากแป้งข้างหมากวิสาหกิจชุมชนขนมไทยบ้านเหล้า ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย นางสาวจุฑามณี ศิริไชย , นางสาวชนิสรา ชูเอียด , นางสาวอรณิชา เต๊ะดอเลาะ , นางสาวอรณี อโนทัย , นางสาวอัญติมาพร รามแก้ว และ นายทัตเทพ แก้วประเสริฐ โดยมี อ.ดร.เพียรผจง อินต๊ะรัตน์ และ อ.ดร.กัลยาภัสร์ อภิโชติเดชาสกุล เป็นที่ปรึกษา

รางวัลบทความวิจัย/วิชาการ ระดับดี จำนวน 7 รางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง : การพัฒนาสูตรและความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตขนมดอกจอก บ้านด่าน ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย นางสาวจิราพัชร ดำยศ , นางสาวเปรมยุดี สังขโชติ , นางสาวมูรีนา ซอเฮาะ , นางสาวฮาตือมะ สา และ นางสาวมัซนีย์ โดส โดยมี อ.ดร.ธวัชชัย ศรีพรงาม และอ.ดร.เกรียงศักดิ์ รัฐกุล เป็นที่ปรึกษา
ผลงานเรื่อง : การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เห็ดแปรรูปเพื่อส่งเสริมการขายสู่ มาตราฐานในชุมชนขนมปั้นสิบ บ้านท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย นางสาวภัทรวดี เกตุประเสริฐ , นางสาวมุฑิตา รัตนะ , นางสาวรุสสนี สุวาหลำ , นางสาววรมาลี ทัศมาลี, โศภณิศณ์ หอมไชยแก้ว และ หนึ่งฤทัย แสงดำ โดยมี อ.ดร.ธวัชชัย ศรีพรงาม และ นายสุรชัย ประกอบ เป็นที่ปรึกษา
ผลงานเรื่อง : การพัฒนาผลิตภัณฑ์บราวนี่จากแป้งกล้วยสู่มาตราฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านม้าเงย อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย นางสาวซากีนะ ดาเร๊ะ , นายนวพัฒน์ ภารกิจโกศล , นางสาวปิยะวดี จันทรทะนา , นายพีระพงศ์ จงรักษ์ , นายมุเซาวิส นิยมเดชา และนายวชิระ คงพูล โดยมี ผศ.ณัฏฐาพงศ์ อภิดชติเดชาสกุล และอ.ดร.เกรียงศักดิ์ รัฐกุล เป็นที่ปรึกษา
ผลงานเรื่อง : วิจัยการพัฒนาและสร้างความยั่งยืนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทำขนมพื้นบ้าน บ้านด่าน หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย นายกิตติภณ คงเมือง , นางสาวดวงกมล ทองแดง , นางสาววรกัญญา ศรีสวัสดิ์ , นายสุทธิพัฒน์ บุตรเวชย์ และ จิราภา แดงดิษฐ์เครี โดยมี อ.สุปราณี ชอบแต่ง และ นายสุรชัย ประกอบ เป็นที่ปรึกษา
ผลงานเรื่อง : การพัฒนาผลิตภัณฑ์เค้กกล้วยหอมสอดไส้สู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนของ กลุ่มแม่บ้านสัมมาชีพขนมไทยบ้านไร่ ตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย นายธนพล บุรีศรี , นางสาวพรชิตา ภักดีสว่าง , นายมูฮำหมัดซัมซูรี บือราเฮง , นางสาวสกุลรัตน์ แป้นคง และ นางสาวอัฐภิญญา ชุมอิน โดยมี ผศ.ดร.อิสระ ทองสามสี ผศ.ณัฏฐาพงศ์ อภิโชติเดชาสกุล และ นายสุรชัย ประกอบ เป็นที่ปรึกษา
ผลงานเรื่อง : การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกไข่แดงเค็มสมุนไพร กลุ่มวิสาหกิจไข่เค็มใบเตยกะทิสด บ้านบ่อระกำ หมู่ที่ 6 ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย นายกิตติกร จันทร์แก้ว , นายกิตตินันท์ ชูเกื้อ , นายภาณุวัฒน์ ศิริวัฒน์ , นายเสฏฐวุฒิ ชายเกลี้ยง , นางสาวเสาวนีย์ ศรีน้อย และ นางสาวหนึ่งฤทัย คงเงิน โดยมี ผศ.ดร.อิสระ ทองสามสี และ อ.ดร.ศิโรนี โต๊ะสัน เป็นที่ปรึกษา
ผลงานเรื่อง : การพัฒนาผลิดตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีชุมชนตำบลหัวเขาบ้านเลขที่ 55/4 หมู่ 7 ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย นายญาณภัทร ประดับจันทร์ , นายวัชระ ด้วงมัน , นางสาวศิริลักษณ์ พลแสง , นางสาวสราญตา อินทมาส , นางสาวสุชาดา สุทธสิงห์ และนางสาวสุพิชชา ทองสง โดยมี อ.ดร.เพียรผจง อินต๊ะรัตน์ และอ.ดร.กัลยาภัสร์ อภิโชติเดชาสกุล เป็นที่ปรึกษา

ประเภทการแข่งขันการเขียนแผนที่ความคิด (Mind Mapping) รางวัลแผนที่ความคิด ระดับดีเด่น 1 รางวัล ประกอบด้วย นางสาวสกุลรัตน์ แป้นคง , นายประเดิมชัย เส็นบัตร และ นางสาวเยาวเรศ รัตนเสถียร โดยมี อ.ดร.กัลยาภัสร์ อภิโชติเดชาสกุล เป็นที่ปรึกษา

ประเภทการประกวดนิทรรศการมีชีวิต 1 รางวัล ได้แก่ รางวัลนิทรรศการมีชีวิต ระดับดีมาก ประกอบด้วย นายวชิรวิชญ์ เภาทอง , นายพรณรงค์ เภาทอง , นายอนลโรจน์ แท่นไตรรัตน์ นายกูฮาซาน กูมูดา และ นายสมชาย เอียดแก้ว โดยมี อ.ดร.ศิโรนี โต๊ะสัน และ อ.สุปราณี ชอบแต่ง เป็นที่ปรึกษา

ประเภทการประกวดคลิปหนังสั้นชุด “ชุมชนของเรา” 1 รางวัล ได้แก่ รางวัลระดับดีมาก จากผลงานเรื่อง : รัตภูมิชุมชนของฉัน เยาวชนของใคร ประกอบด้วย นายวชิรวิชญ์ เภาทอง , นายพรณรงค์ เภาทอง , นายอนลโรจน์ แท่นไตรรัตน์ , นายกูฮาซาน กูมูดา และ นายสมชาย เอียดแก้ว โดยมี อ.ดร.เพียรผจง อินต๊ะรัตน์ และ ผศ.ณัฏฐาพงศ์ อภิโชติเดชาสกุล เป็นที่ปรึกษา

ประเภทการแข่งขันตอบคำถามทางวิชาการการพัฒนาชุมชน 1 รางวัล ได้แก่ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 4 ประกอบด้วย นายธนพล บุรีศรี และ นางสาวพรชิตา ภักดีสว่าง โดยมี อ.ดร.ธวัชชัย ศรีพรงาม เป็นที่ปรึกษา
จากความสำเร็จที่ได้รับในครั้งนี้ มรภ.สงขลา ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาและคณาจารย์ที่ปรึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ที่มุ่งมั่นทำงานวิจัยและทำการฝึกซ้อมเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันในทุกกิจกรรม จนสามารถสร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ติดต่อกันหลายปี

อนึ่ง การเข้าร่วมงานดังกล่าวของสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ เป้าหมายที่ 17 เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://human.skru.ac.th/acthuso_photos.php?id_act=804