เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ ชุมชนบ้านใหม่ (ท่าเสา) ตําบลสทิงหม้อ อําเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา คึกคักรับ ๑๐ องค์กร นําพสกนิกรร่วม ๓๐๐ คน ซ่อมแซมซั้งปลาหมายเลข ๙ จัดเสวนาสวนาถอดบทเรียนการอนุรักษ์ทรัพยากร ชุมชนชายฝั่งทะเลสาบสงขลา ถ่ายทอดความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณผ่านชุดการแสดงและเพลงของพ่อจาก นิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ ปิดท้ายด้วยการจุดเทียนสว่างไสวทั่วบริเวณจุดวางซั้งบ้านปลาหมายเลข ๙ ทะเลสาบสงขลา
รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นประธานพิธีเปิดโครงการ “ถ่ายทอดความรู้และฟื้นฟูซั้งบ้านปลาหมายเลข ๙” กล่าวรายงาน โดย ดร.บัณฑิต ทองสงฆ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวรายงานถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “โครงการถ่ายทอดความรู้และฟื้นฟูซั้งบ้านปลาหมายเลข ๙” เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากการรวมพลังของ ๙ ภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมมือกันซ่อมแซมซั้งปลาหมายเลข ๙ ชุมชนบ้านใหม่ (ท่าเสา) ตําบลสทิงหม้อ อําเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา บ้านปลาหมายเลข ๙ คือผลจากการน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเล ของกลุ่มอนุรักษ์ชายฝั่งและฟาร์มทะเลชุมชนบ้านใหม่ (ท่าเสา) หมู่ที่ ๑ ตําบลสทิงหม้อ อําเภอ สิงหนคร จังหวัดสงขลา ที่ใช้สัญลักษณ์หมายเลข ๙ วางซั้งปลาหรือบ้านปลา ซึ่งออกแบบโดย ผศ.ดํารง ชีวะสาโร คณะศิลปกรรมศาสตร์ และ ผศ.พรชัย นาคสีทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอนุบาล เพิ่มจํานวนสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลา ด้วยเหตุผลว่า “หมายเลข ๙” เป็นสัญลักษณ์ของการแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีและน้อมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และหมายเลข ๙ จะสร้างจิตสํานึกของคนในพื้นที่อันจะนําไปสู่การทําประมงแบบ พอเพียง โดยในปีนี้ สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้ดําเนินการหลัก ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากหลายองค์กร ได้แก่ เทศบาลเมืองสิงหนคร บริษัท ปตท.สผ.เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จํากัด สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนสงขลา สํานักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลสงขลา ศูนย์วิจัยทรัพยากรชายฝั่งทะเลและอ่าวไทย กองพันทหารปืนใหญ่ ที่ ๕ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๕ บริษัทหาดใหญ่สหมอเตอร์ จํากัด สํานักงานใหญ่ โดยการจัดกิจกรรมนี้จะเป็นการปลุก จิตสํานึกอนุรักษ์ทรัพยากรแบบมีส่วนร่วม และพัฒนาบ้านปลาหมายเลข ๙ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยว วิถีชุมชนแนวทะเลสาบให้กับจังหวัดสงขลา
นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมเวทีเสวนา “ถอดบทเรียนการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล” จากองค์กรท้องถิ่น องค์กรชุมชน ภาคเอกชน และผู้แทนภาคีเครือข่าย ดำเนินการเสวนา โดย ผศ.ดร.พรชัย นาคสีทอง และภาคค่ำมีการจุดเทียนน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ ๙ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมร้องเพลง “แผ่นดินของเรา” พร้อมรับชมการแสดงชุดปลากดขี้ลิง และการแสดงดนตรีบทเพลงพระราชนิพนธ์โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ