วันเสาร์, 21 ธันวาคม 2567

กมธ.การแก้ปัญหาความยากจนฯ วุฒิสภา แนะทิศทางพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ มุ่งพัฒนา ด้านอุตสาหกรรมการเกษตร – โลจิสติกส์ – ท่องเที่ยว

วันที่ 14 ธันวาคม 2564 เวลา 11.00 น. ณ จุดแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา (ฝั่งวุฒิสภา)
คณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา โดย นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ประธานคณะกรรมาธิการ พร้อมด้วย นายอำพล จินดาวัฒนะ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่งนายพลเดช ปิ่นประทีป รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สี่ นายอภิชาติ โตดิลกเวชซ์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ห้า และนายสถิตย์พงศ์พันธุ์ ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการ ร่วมกันแถลงข่าวเรื่อง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Coridor : SEC)โดยนายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการ ได้กล่าวว่าคณะกรรมาธิการมีความกังวลใจในข้อขัดแย้งบางประการที่เกิดขึ้นในภาคใต้ จึงเสนอแนวทางที่จะคลี่คลายและหาทางที่จะทำให้ปัญหาจบลงได้ โดยเห็นว่า จังหวัดในภาคใต้จำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและโครงการทางเศรษฐกิจอย่างจริงจังตามทิศทางของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ที่มุ่งเน้นไปใน ๓ ด้าน ซึ่งจะเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
1. ด้านอุตสาหกรรมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการผลิตสินค้าเกษตร
ขั้นปฐมอันเป็นปัจจัยการผลิตในภ าคอุตสาหกรรมการเกษตร ไม่สนับสนุนอุตสาหกรรมหนักที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประชาชนในพื้นที่ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น
2. ด้านระบบโลจิสติกส์ ทั้งทางถน ทางราง ทางเรือ และทางอากาศ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งสินค้าและนักท่องเที่ยว
3. ด้านการท่องเที่ยว ทั้งที่พักแรมและร้านอาหาร และคมนาคมขนส่ง ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจฐานรากมีเม็ดเงินหมุนเวียน และเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับประชาชนในพื้นที่ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคใต้ต้องสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SustainableDevelopment Goals: SDG) ที่ทั่วโลกยึดเป็นแนวทางหลักในการพัฒนาประเทศ ที่มุ่งเน้นความสมดุลใน 3 มิติ ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้ต้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานรากให้มีการจ้างงานและยกระดับรายได้ของประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง
นอกจากนั้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก การก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ ดังนั้น การจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) จะเป็นส่วนสนับสนุนซึ่งกันและกันกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก อันจะช่วยทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมขยายตัวอย่างทั่วถึงและยั่งยืนต่อไป
ทั้งนี้ การส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมในภาคใต้ควรเน้นอุตสากหรรมที่ก้าวหน้า ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการเกษตร อุตสาหกรรมชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-GreenEconomy) โดยการดำเนินเศรษฐกิจดังกล่าว จะต้องส่งเสริมให้ประชาชนในภาคใต้ มีอาชีพ มีงานทำและปลอดจากมลพิษ อันจะเป็นการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
ดังนั้น การส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยการสร้างนิคมอุตสาหกรรมในภาคใต้ จะต้องตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง และประชาชนควรจะได้รับสิ่งที่ดีขึ้นจากการพัฒนาตลอดจนการให้สิทธิแก่ประชาชนได้มีส่วนในการกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ของตนเองด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น คณะกรรมาธิการขอให้รัฐบาลหาแนวทางการแก้ปัญหาให้คลี่คลายด้วยแนวทางที่สันติ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน