วันพฤหัสบดี, 26 ธันวาคม 2567

ศึกชิงเก้าอี้อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ส่อวุ่น ก่อนวันลงคะแนน

27 ก.ค. 2020
2015

ตามที่ ผศ.ดร.นิวัติ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาได้ลาออกกลางสภาเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2563 นั้น หลังจากนั้นก็มีการรับสมัครอธิการบดีคนใหม่ ปรากฏว่ามีผู้สมัครทั้งหมด 6 คน และเมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม 2563 มีการให้ผู้สมัครได้นำเสนอนโยบายต่อประชาคม ซึ่งเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยทั้งหมด และในตอนบ่ายวันเดียวกันก็มีการลงคะแนนยั่งเสียงจากประชาคมทั้งหมดปรากฏว่ามีคะแนนป๊อปปูล่าโหวตของผู้สมัครทั้งหมดตามหมายเลขผู้สมัครดังนี้

1.ศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์  148 คะแนน

2.ผศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ 168 คะแนน

3.ผศ.ดร.อำนาจ ทองขาว  173 คะแนน

4. ผศ.ดร.ครวญ บัวคีรี 135 คะแนน

5.รศ.ดร. วิชิต เรืองแป้น 5 คะแนน

6.ศ.ดร.ประยงค์ แสนบุราณ 6 คะแนน

ซึ่งในวันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2563 นี้สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาจะมีการประชุมสภาเพื่อลงมติแต่งตั้งอธิการบดีคนใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศมีทั้งหมด 38 แห่ง และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการประท้วง มีการฟ้องร้องในการแต่งตั้งอธิการบดีกันมากที่สุดตามที่เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ และสื่ออื่นๆ ถึงเรื่องสภาเกาหลัง หมายถึงสภามหาวิทยาลัย จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้สมัครที่มาจากผู้บริหารเดิม สภามักจะลงมติให้ผู้บริหารชุดเดิมเพราะรู้จักเคยดูแลกันอยู่เป็นประจำ เป็นการถ่ายทอดอำนาจกันเป็นรุ่นๆ ทำให้ผู้สมัครรุ่นใหม่ๆ ไม่มีโอกาสขึ้นมาบริหารได้เลย แต่จากการพูดคุยกับอดีตประธานสภาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาหลายท่านทราบว่าในอดีตที่ผ่านมาตามธรรมเนียมปฏิบัติของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ในการแต่งตั้งอธการบดีแต่ละครั้งสภาจะให้ความสำคัญกับเสียงของประชาคมซึ่งเป็นบุคลากรภายในเป็นสำคัญ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจของบุคลากรและให้การบริหารงานของอธิการบดีคนใหม่ไม่ติดขัดในการทำงานร่วมกับประชาคม เป็นที่น่ายินดีกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ผลการนับคะแนนหยั่งเสียงสรรหาอธิการบดี มรภ.สงขลา (เรียงลำดับตามคะแนน)​

หมายเลข 3 ผศ.ดร.อำนาจ ทองขาว 173
หมายเลข 2 ผศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ 168
หมายเลข 1 ผศ.ดร.ศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์ 148
หมายเลข 4 ผศ.ดร.ครวญ บัวคีรี 135
หมายเลข 5 รศ.ดร.วิชิต เรืองแป้น 5
หมายเลข 6 ศ.ดร.ประยงค์ แสนบุราณ 4

ไม่ประสงค์ลงคะแนน 37
บัตรเสีย 1