เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดงานมหกรรมผลงานวิจัยและนวัตกรรมพร้อมใช้ TSU Social Innovations Fair 2022 ณ อาคารหอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นประธานเปิดงาน งานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 ตุลาคม 2565 เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมใน มหาวิทยาลัยทักษิณสู่สาธารณะและนําสู่การใช้ประโยชน์ พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมในมิติ ต่างๆ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า งานมหกรรมผลงานวิจัยและนวัตกรรมพร้อมใช้ มหาวิทยาลัยทักษิณ TSU Social Innovations Fair 2022 มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมใน มหาวิทยาลัยทักษิณสู่สาธารณะและนําไปสู่การใช้ประโยชน์ สร้างโอกาสนักวิจัย ได้นําเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรม ต่อผู้ประกอบการ หรือผู้สนใจ แลกเปลี่ยน เรียนรู้การพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม ในมิติต่างๆ ตามความเหมาะสม โดยมี กิจกรรมต่างๆ ได้แก่ 1. หลักสูตร นักพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม 2. การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “TSU Inventor Award 2022” 3. นิทรรศการ มหกรรมผลงานวิจัยและนวัตกรรมพร้อมใช้มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งมีอาจารย์ นักวิจัย นิสิตที่สนใจเข้าร่วมหลักสูตร นักพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และ นวัตกรรม ทั้งสิ้น 355 คน มีผลงานส่งเข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์และ นวัตกรรม “TSU Inventor Award 2022 จํานวน 51 ผลงาน โดยแบ่งเป็น ระดับอุดมศึกษา จํานวน 25 ผลงาน และระดับมัธยมศึกษา จํานวน 26 ผลงาน และมีบูทนิทรรศการ มหกรรมผลงานวิจัยและนวัตกรรพร้อมใช้มหาวิทยาลัย ทักษิณ ร่วมจัดแสดง จํานวน 30 บูท และได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศ 3 ท่าน ในการบรรยายพิเศษในหลักสูตรนักพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และ นวัตกรรม คือ 1.ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เมธีวิจัย อาวุโส สกว. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2. รองศาสตราจารย์ ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ 3. รองศาสตราจารย์ ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
งานมหกรรมผลงานวิจัยและนวัตกรรมพร้อมใช้มหาวิทยาลัยทักษิณ TSU Social Innovation Fair 2022 ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ เป็นการสร้างระบบนิเวศการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรม ซึ่งสอดคล้องวิสัยทัศน์ “มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคมระดับแนวหน้าของประเทศภาย ในปี 2567” และการเป็นมหาวิทยาลัย “กลุ่มที่ 2 การพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริม การสร้างนวัตกรรม” (Technology and Innovation) สามารถสร้างอนาคตด้วยการจัดการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ วิจัย เทคโนโลยีนวัตกรรม การบริการวิชาการและการบริหารที่เป็นเลิศ ผสานการดําเนินงานและการขับเคลื่อนด้วยพันธกิจแบบบูรณาการจากจุดแข็งที่มีทางสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการร่วมมือกับภาคี พันธมิตรและ ตามนโยบายหมุดหมายที่ 2 สร้างผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ การพัฒนาเชิงพื้นที่ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ภายใต้กลยุทธ์และ แนวทางต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างนวัตกรรมจากผลงานวิจัย และองค์ความรู้ที่เกิดขึ้น ในมหาวิทยาลัยจากบุคลากรในหน่วยงานให้เกิดการนําไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนมากยิ่งขึ้น การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ การเชื่อมต่องานวิจัยกับภาคเอกชนให้มีจํานวนมากยิ่งขึ้นภายใต้ระบบบริหาร จัดการที่มีประสิทธิภาพและเป็นระบบกลไกหลักที่จะช่วยขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม อันจะนําไปสู่การพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัยและประเทศชาติต่อไป