วันจันทร์, 25 พฤศจิกายน 2567

ธิดานุเคราะห์ หาดใหญ่นำธิดาน้อยออกมาเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนอนุรักษ์เรื่องกล้วยปลูกฝังเด็กอนุบาล ได้รู้จักการเรียนรู้

โรงเรียนธิดานุเคราะห์ หาดใหญ่นำธิดาน้อยออกมาเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนอนุรักษ์เรื่องกล้วยปลูกฝังเด็กอนุบาล ได้รู้จักการเรียนรู้ และประโยชน์ของกล้วย ของภูมิปัญญาชาวบ้านท้องถิ่น ทำให้เด็ก ๆ ระดับอนุบาล 2 อายุ 3 – 4 ขวบ จำนวน 35 คน รู้สึกตื่นเต้นดีใจที่ได้ออกไปทำกิจกรรมศึกษานอกโรงเรียน ได้สัมผัส ได้เห็นของจริง โดยมีคณะครูและอาสาสมัครผู้ปกครองคอยดูแล และให้การแนะนำ ทำให้เด็ก ๆ รู้สึกประทับใจกับการต้อนรับของชาวบ้านเป็นอย่างดี

วันที่ 31 มกราคม 2566 เวลา 9.00 น. นำโดน sister ผกามาส มาสอน คณะครู และนักเรียน โรงเรียนธิดานุเคราะห์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ชั้นอนุบาล 2 ซึ่งเป็นวันวัยกำลังเรียนรู้ ทาง มทบ. 42 ค่ายเสนาณรงค์ อำเภอหาดใหญ่ ได้นำรถบัสมาคอยอำนวยความสะดวก ในการออกไปทำกิจกรรมศึกษานอกโรงเรียน ที่ กศน. ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ สังกัดสำงาน กศน.จังหวัดสงขลา มีนายไพโรจน์ คเชนทองสุวรรณ์ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอหาดใหญ่ และคณะครู กศน. ให้การต้อนรับกับนักเรียนตัวน้อย ๆ และคณะครูโรงเรียนธิดานุเคราะห์ มาศึกษาดูงานการจักสานเชือกกล้วย และภูมิปัญญาท้องถิ่นของ ตำบลคูเต่า ด้านการจักสานเชือกกล้วย โดยการนำนักเรียนชั้นอนุบาล เรียนรู้เกี่ยวกับต้นกล้วยพื้นเมืองของตำบลคูเต่า และเรียนรู้การทำเชือกกล้วย ที่หมู่ 9 บ้านหัวควาย ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยให้เด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำม้าก้านกล้วย ปืนจากก้านกล้วย จากภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ภูมิปัญญาให้คงอยู่กับลูกๆ หลาน ๆ และปลูกฝังให้เด็ก ๆ รักและเรียนรู้สิ่งรอบ ๆ ตัวให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งภารกิจของ กศน.ส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ฝึกอาชีพให้กับคนในชุมชน ต้องการส่งเสริมอาชีพ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายให้กับคนในชุมชน และ กศน.ตำบลคูเต่ามุ่งพัฒนา และต่อยอดการจักสานผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วย ก่อนกลับเด็ก ๆ ยังร้องเพลง ชวนน้องล่องใต้ให้กับ คณะครู กศน. ฟังแทนคำขอบคุณ