วันศุกร์, 4 ตุลาคม 2567

“เกษตร” มรภ.สงขลา จับมือนักวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์ สร้างเครื่องให้อาหารสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติพลังงานแสงอาทิตย์

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา จับมือนักวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์ พัฒนาเครื่องให้อาหารสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ช่วยแก้ปัญหาด้านแรงงาน ลดต้นทุนเกษตรกร เตรียมต่อยอดสั่งการผ่านแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือ และประยุกต์ใช้กับการให้อาหารสัตว์ชนิดอื่น

นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ที่มีทีมคณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้แก่ อาจารย์ศรัณย์ รักษาพราหมณ์ ผศ.สบาย ตันไทย รศ.นฤมล อัศวเกศมณี และ ผศ.ณิศา มาชู ร่วมให้คำแนะนำปรึกษา ได้ร่วมกับ นายณัฐพล ราชูภิมนต์ นักวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พัฒนาเครื่องให้อาหารสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์

ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชนเกษตรพอเพียงอยู่ดี มีสุข ประจำปีงบประมาณ 2566 กิจกรรมเกษตรผสมผสานเพื่อเสริมรายได้ (เกษตรผสมผสานเกาะแต้ว) ลงพื้นที่เกาะแต้ว หมู่ 6 และ หมู่ 7 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 ดำเนินการสาธิตและติดตั้งเครื่องให้อาหารสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับสมาชิกและผู้ที่สนใจ

อาจารย์ศรัณย์ รักษาพราหมณ์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวว่า เครื่องให้อาหารสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่พัฒนาขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้งานในราคาประหยัด โดยใช้เทคโนโลยีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกที่นับวันยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น และเพื่อแก้ไขปัญหาในด้านแรงงาน ทำให้เกษตรกรสามารถบริหารเวลาเพื่อทำงานอื่นๆ ในรอบวันได้มากขึ้น

นอกจากนั้น ยังสามารถเป็นตัวอย่างต้นแบบให้ผู้ที่สนใจนำไปพัฒนาต่อยอดได้ต่อไป ตอบโจทย์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ปัจจุบันเข้ามามีบทบาทอย่างมากในงานด้านการเกษตร การพัฒนาเทคโนโลยีอุปกรณ์การให้อาหารให้ทำได้ง่ายขึ้น และมีราคาต้นทุนที่ถูกลง จึงเป็นทางออกเพื่อตอบสนองการแก้ไขปัญหาบางประการในงานทางด้านการเพาะเลี้ยงปลา เช่น ปัญหาทางด้านการขาดแคลนแรงงานในการเลี้ยงปลา ปัญหาในด้านปริมาณการให้อาหารปลาที่มากหรือน้อยจนเกินไป จนทำให้ปลามีการเจริญเติบโตที่ไม่เท่ากัน อีกทั้งน้ำอาจจะเกิดการเน่าเสียจากการที่ให้อาหารปลาในปริมาณที่มากเกินไปจนปลากินอาหารไม่หมด

นอกจากนั้น ยังสามารถเป็นตัวอย่างต้นแบบให้ผู้ที่สนใจนำไปพัฒนาต่อยอดได้ต่อไป ตอบโจทย์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ปัจจุบันเข้ามามีบทบาทอย่างมากในงานด้านการเกษตร การพัฒนาเทคโนโลยีอุปกรณ์การให้อาหารให้ทำได้ง่ายขึ้น และมีราคาต้นทุนที่ถูกลง จึงเป็นทางออกเพื่อตอบสนองการแก้ไขปัญหาบางประการในงานทางด้านการเพาะเลี้ยงปลา เช่น ปัญหาทางด้านการขาดแคลนแรงงานในการเลี้ยงปลา ปัญหาในด้านปริมาณการให้อาหารปลาที่มากหรือน้อยจนเกินไป จนทำให้ปลามีการเจริญเติบโตที่ไม่เท่ากัน อีกทั้งน้ำอาจจะเกิดการเน่าเสียจากการที่ให้อาหารปลาในปริมาณที่มากเกินไปจนปลากินอาหารไม่หมด