วันจันทร์, 7 ตุลาคม 2567

สมิหลา อบอวลด้วยความรัก คึกคักด้วยทัพนักวิ่งที่มีหัวใจแห่งการ “ให้” กว่า 1,800 คน วิ่ง HaadThip Fan Run #3

บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรม วิ่ง “HaadThip Fan Run” ครั้งที่ 3 “ชิลล์ แชะ run มันส์ดนตรี” ในธีม “หาดทิพย์ ขอบคุณ” เพื่อขอบคุณ ทุกๆคนที่ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ด้วยกันมากับหาดทิพย์ โดยได้รับเกียรติจาก       นายกองเอก พุทธ กฤชคงพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนายวันชัย ปัญญาศิริ  นายกเทศมนตรีนครสงขลา, รองศาสตราจารย์นายแพทย์ พุฒิศักดิ์ พุทธวิบูลย์ อดีตคณะบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประธานอนุกรรมการดำเนินการก่อสร้างอาคารเย็นศิระ 3 มูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ นายดำรงรักษ อภิบาลสวัสดิ์ รองประธานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปฏิบัติการอาวุโส บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และพันธมิตร ร่วมพิธีเปิดและปล่อยตัวนักวิ่งเดี่ยว นักวิ่งคู่ และนักวิ่งกลุ่ม จำนวนกว่า 1,800 คน วิ่งดื่มด่ำบรรยากาศยามเย็นบนชายหาดสมิหลา สงขลา นักวิ่งทุกคนที่วิ่งเข้าเส้นชัยจะได้รับของที่ระลึกสุดพิเศษ คือ สร้อยพร้อมจี้รูปฝาจีบหรือห่วงแคน  และปิดท้ายความสนุกของงานกับอาหารอร่อยๆ จุดถ่ายภาพสวยๆ ด้วยบรรยากาศดนตรีสบายๆริมชายหาด รวมถึง การจับรางวัลที่ระลึกตามหมายเลข BIB  ให้กับนักวิ่งผู้โชคดี รับของรางวัลมากมาย อาทิเช่น โรงแรมที่พักหรูบนเกาะภูเก็ต,สงขลา ตั๋วเครื่องบิน ของที่ระลึกจากโคลา-โคลา เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งนำรายได้ทั้งหมดจากการสมัคร HaadThip Fan Run ครั้งที่ 3 และเงินบริจาคมอบให้ มูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สมทบทุน “ช่วยเหลือผู้ป่วยอาคารเย็นศิระ 3” อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อ 18 มีนาคม 2566 ณ หาดสมิหลา จ.สงขลา

หาดทิพย์เชื่อว่าความสุข ความสนุกสนานใน HaadThip Fan Run ครั้งที่ 3 จะเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้ทุกคนมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความรักที่แข็งแรง และร่วมสร้างโลกของเราให้แข็งแรง โดยหาดทิพย์ใส่ใจในทุกรายละเอียด เริ่มต้นจากการ  ลงพื้นที่เก็บเศษไม้จากชายฝั่งมาออกแบบทำป้ายต่างๆ นำเศษผ้าที่เหลือใช้จากชุมชนมาดีไซน์ใหม่เป็นธงประดับตกแต่งบริเวณชายหาด เลือกใช้ไม้ไผ่เป็นโครงสร้างของเวที ใช้ภาชนะกระดาษที่มีราคาแพงกว่าแต่ย่อยสลายง่ายกว่า วางระบบการจัดการอาหารเพื่อให้เกิดขยะอาหาร (food waste) ให้น้อยที่สุด และชวนทุกคนร่วมกันคัดแยกขยะ 2 ถัง คือ ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล  ซึ่งภายในงาน หาดทิพย์สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ทั้งสิ้น 7,024.91 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบเท่าการดูดซับคาร์บอนของต้นไม้ต่อปี ถึง 781 ต้น