วันพุธ, 13 พฤศจิกายน 2567

มรภ.สงขลา ยกผลงานวิจัยเกือบ 50 เรื่อง โชว์ศักยภาพเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ พร้อมคว้ารางวัลบทความดีเด่น นำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ แบบบรรยาย ระดับดี-ดีเด่น รวม 6 รางวัล

10 ก.พ. 2020
1123

ผศ.ดร.อนุมัติ เดชนะ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า ทางคณะฯ นำทีมคณาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา จุลชีววิทยาประยุกต์ สาธารณสุขชุมชน วิทยาศาสตร์สุขภาพและสปา เทคโนโลยีสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการรวม 48 เรื่อง ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ ครั้งที่ 5 “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสังคม” National Science and Technology Conference (NSCIC2020) เมื่อวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่ โดยสามารถคว้ามาได้ 6 รางวัล ได้แก่

                1. อ.เยาวลักษณ์ เตี้ยนวน และ อัยนูร ยูโซะ รางวัลบทความดีเด่น และ รางวัลนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ระดับดีเด่น ด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากผลงานวิจัยเรื่อง การยอมรับและการรับรู้ต่อประโยชน์กิจกรรมรับน้องของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (2 รางวัล)

                2. นางสาววิชุดา ทุ่งยอ รางวัลนำเสนอผลงานแบบบรรยาย ระดับดีเด่น ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ/เกษตรศาสตร์ จากผลงานวิจัยเรื่อง ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของเชื้อแอคติโนมัยซีทคัดแยกได้จากตัวอย่างดินป่าชายเลนในจังหวัดสตูล

                3. นางสาวนูรมี กาเร๊าะ และอ.สุธินี หีมยิ รางวัลนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ระดับดีเด่น ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ/เกษตรศาสตร์ จากผลงานวิจัยเรื่อง การปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในปลาผิวน้ำที่จับได้จากบริเวณชายฝั่งปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

                4. นายนพดล ไชยเซ่ง รางวัลนำเสนอผลงานแบบบรรยาย ระดับดี ด้านวิทยาศาสตร์/วิทยาศาสตร์ประยุกต์/วิทยาศาสตร์สุขภาพ จากผลงานวิจัยเรื่อง การใช้ประโยชน์จากเมล็ดขนุนในผลิตภัณฑ์ไอศกรีมและโคนไอศกรีม

                5. นางสาวภัทรวดี เขียวจันทร์ นายธำมรงค์ จิตภักดี และ อ.สุธินี หีมยิ รางวัลนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ระดับดี ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ/เกษตรศาสตร์ จากผลงานวิจัยเรื่อง ความหลากชนิดซาร์โคดินาโปรโตซัวในแหล่งน้ำมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา