วันเสาร์, 27 กรกฎาคม 2567

มรภ.สงขลา นำ นศ. สำรวจสุขภาพต้นไม้ ปลุกพลังพลเมืองอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

มรภ.สงขลา จับมือสงขลาฟอรั่ม ส่งนักศึกษาสำรวจสุขภาพต้นไม้ผ่านแอพพลิเคชัน C-site ปลุกพลังพลเมืองร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เผยผลสำรวจน่าห่วง ประชากรต้นไม้กว่า 50% ป่วยและเปราะบาง เตรียมหาแนวทางดูแลรักษา
 เมื่อเร็วๆ นี้นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ร่วมกับสงขลาฟอรั่ม ลงพื้นที่สำรวจต้นไม้บริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย ผ่านแอพพลิเคชัน C-site ภายใต้โครงการ Songkhla Inclusive City หรือ โครงการสงขลาเมืองใจกว้าง ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่การเรียนรู้ เพื่อปลุกพลังความเป็นพลเมืองในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อันเป็นพันธกิจหนึ่งในการพัฒนานักศึกษาสู่สังคม ดิจิทัล ทั้งยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าของต้นไม้ เกิดความรักและหวงแหน นำไปสู่การดูแลรักษาให้คงอยู่คู่ชุมชน
ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่ากว่า 50% ของประชากรต้นไม้จำนวน 209 ต้นโดยรอบมหาวิทยาลัย อยู่ในสภาพป่วยและเปราะบาง ส่วนใหญ่มีอาการเปลือกลอก ผุกร่อน ใบและกิ่งก้านไม่สมบูรณ์ โดยกลุ่มผู้สำรวจตั้งเป้าจะดำเนินการสำรวจให้ครบ 4 ครั้ง หลังจากนี้จะมีการเปิดเวทีเสวนาเพื่อร่วมหาแนวทางอนุรักษ์และดูแลรักษาพันธุ์ต้นไม้ในเมืองสงขลาต่อไป

มรภ.สงขลา นำ นศ. สำรวจสุขภาพต้นไม้ ปลุกพลังพลเมืองอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

                มรภ.สงขลา จับมือสงขลาฟอรั่ม ส่งนักศึกษาสำรวจสุขภาพต้นไม้ผ่านแอพพลิเคชัน C-site ปลุกพลังพลเมืองร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เผยผลสำรวจน่าห่วง ประชากรต้นไม้กว่า 50% ป่วยและเปราะบาง เตรียมหาแนวทางดูแลรักษา

 เมื่อเร็วๆ นี้นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ร่วมกับสงขลาฟอรั่ม ลงพื้นที่สำรวจต้นไม้บริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย ผ่านแอพพลิเคชัน C-site ภายใต้โครงการ Songkhla Inclusive City หรือ โครงการสงขลาเมืองใจกว้าง ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่การเรียนรู้ เพื่อปลุกพลังความเป็นพลเมืองในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อันเป็นพันธกิจหนึ่งในการพัฒนานักศึกษาสู่สังคมดิจิทัล ทั้งยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าของต้นไม้ เกิดความรักและหวงแหน นำไปสู่การดูแลรักษาให้คงอยู่คู่ชุมชน

ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่ากว่า 50% ของประชากรต้นไม้จำนวน 209 ต้นโดยรอบมหาวิทยาลัย อยู่ในสภาพป่วยและเปราะบาง ส่วนใหญ่มีอาการเปลือกลอก ผุกร่อน ใบและกิ่งก้านไม่สมบูรณ์ โดยกลุ่มผู้สำรวจตั้งเป้าจะดำเนินการสำรวจให้ครบ 4 ครั้ง หลังจากนี้จะมีการเปิดเวทีเสวนาเพื่อร่วมหาแนวทางอนุรักษ์และดูแลรักษาพันธุ์ต้นไม้ในเมืองสงขลาต่อไป