วันจันทร์, 7 ตุลาคม 2567

กลุ่มหนุนจะนะ บุกศาลากลาง แสดงจุดยืน เรียกร้องรัฐบาลเดินหน้านิคมจะนะ เพื่อการพัฒนาเมืองสงขลา และรองรับการทำงานของเด็กรุ่นใหม่ในอนาคต

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 13 มกราคม 2565 . กลุ่มผู้สนับสนุนนิคมอุตสาหกรรมจะนะจาก 3 ตำบล กว่า 500 คนเดินทางมายื่นหนังสือถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา โดยมีนายไพโรจน์ และสูบ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา เป็นตัวแทนรับหนังสือเรียกร้องจากตัวแทนกลุ่มสนับสนุนในอำเภอจะนะ ณ หน้าศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า)

ทั้งนี้ตัวแทนภาคประชาชนจากผู้สนับสนุนจาก ตำบลตลิ่งชัน ตำบลนาทับ และตำบลสะกอม ได้กล่าวถึงเจตนารมณ์ในครั้งนี้ของชาวอำเภอจะนะ ที่เดินทางมายื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลว่า เพื่อต้องการที่จะพัฒนาบ้านตนเอง โดยการมีส่วนร่วมจากประชาชนใน 3 ตำบล และร่วมอีก 9 ตำบลของขอบเขตผังเมืองที่กำหนดไว้ จึงอยากสะท้อนปัญหาให้เห็นว่าคนจะนะ คิดกันเองว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องบุกขึ้นมาบอกกับคนทั่วประเทศว่า วันนี้จังหวัดสงขลาพี่น้องอำเภอจะนะ ต้องการผลักดันโครงการนี้ เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์กับจังหวัดสงขลา

โดยดูจากอัตราการเจริญของจังหวัดระยองที่เป็นหนึ่งในการพัฒนาประเทศไทย และ รายได้ถัวเฉลี่ย 1 คนต่อ 1 ล้านบาทต่อคนต่อปี แต่เมื่อมาดูจังหวัดสงขลา ที่อำเภอจะนะที่รับผิดชอบโดย ศอ.บต.วันนี้คนจะนะใน 4 อำเภอยังอยู่เหมือนเดิม เพราะถูกขัดขวางโดยกลุ่ม NGO ที่เห็นต่าง ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่จะลุกขึ้นมาเพื่อต้องการที่จะกำหนดทิศทางในการพัฒนาในครั้งนี้ให้เกิดขึ้น ซึ่งวันนี้ ทุกคนพยายาม จะปฏิบัติตามตัวบทกฏหมาย แต่ ทุกฝ่ายก็ใช้ แรงกดดันรัฐบาล และวันนี้รัฐบาลเองก็อยากให้มีการจ้างงานเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจที่จะขับเคลื่อนไปได้

ดังนั้นพวกเราจึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะช่วยรัฐบาล ในเรื่องของการสร้างงานในอำเภอจะนะ ดังนั้นจึงต้อง การขับเคลื่อนโครงการนี้ต้องให้เกิดขึ้น อย่าชะลอโครงการ วันนี้จึงต้องมาทวงถามรัฐบาลว่าทำไม เมื่อมติครม.ผ่านไปแล้ว พอถึงเวลาคนไปเพียง 50 คนท่านก็หยุด แล้วจะทำอย่างไร จึงต้องมาแสดงจุดยืนว่า เราอยากพัฒนาบ้านเราให้เหมือนกับจังหวัดที่เจริญแล้ว จึงมาเรียกร้องในวันนี้โดย

  1. รัฐบาลจะต้องให้ความมั่นใจกับประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ว่าจะไม่ยุติโครงการนี้แค่เพียงเพราะคนส่วนน้อยที่ขัดขวางและยืนยันดำเนินโครงการต่อไปจนสำเร็จตามเวลาที่กำหนด ไม่หลุดไปจากความเหมาะสมของยุคสมัย เพราะคนหนุ่มสาวที่กำลังเรียนหนังสือชั้นมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษาอยู่ขณะนี้ มีความหวังจะเข้าสู่โอกาสการทำงานในอนาคตของโครงการนี้อย่างแน่นอน

2.ขอให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง รับฟัง ความคิดเห็นจากประชาชนในชุมชนผู้มีส่วนได้เสียจริงอย่างทั่วถึง ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนาวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และหากเป็นไปได้ขอให้เร่งรัดศึกษาผลกระทบทางยุทธศาสตร์ ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพราะในสถานการณ์เศรษฐกิจ การทำมาหากินยากลำบากลงเรื่อยๆนั้น ประชาชนในพื้นที่ต่างรอการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จากการพัฒนาที่เกิดขึ้น

3.รัฐบาลควรใช้กฎหมายอย่างจริงจังต่อการกระทำใดๆของคนบางกลุ่มที่ละเมิดกฎหมายและละเมิดสิทธิของผู้อื่นเช่นการขัดขวางการประชุม การรื้อเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทุกกรณี

4.ในคณะกรรมการตรวจสอบระดับพื้นที่ต้องจัดให้มีแกนนำหรือผู้นำชุมชน
ผู้ทรงคุณวุฒิที่คนส่วนใหญ่ยอมรับจาก 3 ตำบลเป็นกรรมการร่วมในสัดส่วนของผู้สนับสนุน
โครงการไม่น้อยกว่ากลุ่มคัดด้านโดรงการ
ประการสุดท้ายพวกเราประชาชนผู้มีส่วนได้เสียจริงในพื้นที่ยืนยันว่ายังคงสนับสนุนและคาดหวังให้โครงการพัฒนานี้เกิดขึ้นเป็นจริงในเวลารวดเร็วและเชื่อมั่นต่อความพยายามของรัฐบาล